วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการประกวด


หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการประกวด
  1. ผู้ส่งผลงานเข้าประกวด ได้แก่ นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ไม่จำกัดอายุ        ผู้ส่งผลงานหนึ่งคน สามารถส่งผลงานเข้าประกวดได้คนละไม่เกิน  ชิ้นงาน
  2. ผลงานที่ส่งเข้าประกวดจะต้องเป็นผลงานที่ออกแบบขึ้นใหม่ ไม่เคยนำเข้าร่วมประกวดหรือได้รับรางวัลจากที่ใดมาก่อน
  3. ผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องมีคำอธิบายผลงานหรือเอกสารการประกอบคำอธิบายแนวคิด ความหมายของแบบ สี แรงบันดาลใจในการออกแบบ
  4. กรณีออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์กราฟฟิก ให้ส่งผลงานภาพสีและขาวดำ ขนาด  A3  ติดลงบนกระดาษแข็งหรือแผ่นฟิวเจอร์บอร์ด  พร้อม CD  บรรจุไฟล์ผลงานการออกแบบความละเอียด 300 dpi ขึ้นไป ในรูปแบบนามสกุล .jpg , .aiหรือ .psd  พร้อมระบุ code  สีโหมด CMYK  เอกสารให้ระบุชื่อ นามสกุล อีเมล์ และหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ออกแบบ อยู่ด้านหลังผลงาน
  5. กรณีออกแบบด้วยฝีมือ ให้ส่งผลงานภาพสีและขาวดำอยู่ในพื้นกระดาษ ขนาด  A3  พร้อมใส่กรอบกระดาษโปสเตอร์สีให้สวยงาม
  6. ผลงานการออกแบบสามารถนำไปใช้งานได้เป็นอย่างดีกับ  สื่อสิ่งพิมพ์ และผลิตภัณฑ์ต่างๆ  เช่น สมุดบันทึก ปกหนังสือ นามบัตร โปสเตอร์ เป็นต้น
  7. ผลงานทุกชิ้นที่ส่งเข้าประกวด จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของเทศบาลตำบลแม่กา และคณะกรรมการตัดสินสามารถใช้สิทธิ์ในการปรับผลงานเพื่อประโยชน์ในการใช้งานจริงต่อไป
  8. ผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องเป็นผลงานที่ผู้ส่งเข้าประกวดออกแบบเอง ห้ามมิให้นำผลงานของผู้อื่น ไม่ว่าส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมด ส่งเข้าประกวด  หากมีการละเมิดลิขสิทธิ์  ผู้ส่งผลงาน จะต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย ข้อขัดแย้งใด ๆ ที่เกิดขึ้นให้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ออกแบบ
  9. ผลงานที่ได้รับรางวัล หากภายหลังพบว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์ คณะกรรมการตัดสินฯ จะตัดสิทธิ์การได้รับรางวัลของผลงานชิ้นนั้น ๆ โดยที่เจ้าของผลงานไม่สามารถฟ้องร้องได้ในทุกกรณี
  10. ผลการพิจารณา และการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สุด ไม่สามารถนำไปฟ้องร้องและดำเนินคดีใด ๆ ได้

โปสเตอร์


วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

เชิญชวนประกวดออกแบบตราสัญลักษณ์ "เตาเผาโบราณเวียงบัว"


 ประกาศเทศบาลตำบลแม่กา

เรื่อง     เชิญชวนประกวดออกแบบตราสัญลักษณ์ "เตาเผาโบราณเวียงบัว"
-------------------------
          ด้วยเทศบาลตำบลแม่กา  มีความประสงค์ที่จะพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวในเขตเทศบาลให้เป็นที่รู้จักในหมู่นักท่องเที่ยวอย่างแพร่หลาย  โดยเน้นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เชิงประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม  เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเที่ยวในพื้นที่และยังสามารถเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน ซึ่งแหล่งเตาเผาโบราณเวียงบัว  ถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางโบราณสถาน     ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของตำบลแม่กา และของจังหวัดพะเยาอย่างหนึ่ง     ทั้งนี้ยังขาดตราสัญลักษณ์ที่จะนำไปใช้ในการประชาสัมพันธ์ และนำไปประยุกต์ใช้งานกับสื่อสิ่งพิมพ์ ของที่ระลึก และผลิตภัณฑ์ต่างๆ 
เทศบาลตำบลแม่กาจึงได้จัดให้มีการประกวดออกแบบตราสัญลักษณ์ “เตาเผาโบราณเวียงบัว” และเปิดโอกาสให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา ประชาชนทั่วไปได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมดังกล่าว โดยมีรายละเอียดหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
หลักเกณฑ์การประกวดออกแบบตราสัญลักษณ์ (Logo) "เตาเผาโบราณเวียงบัว"
วัตถุประสงค์
1.      เพื่อเป็นตราสัญลักษณ์(โลโก้) ในการประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ ของเตาเผาโบราณเวียงบัว
2.      เพื่อบ่งบอกถึงความเป็นอัตลักษณ์ ง่ายต่อการรับรู้ และจดจำ
3.      เพื่อนำมาประยุกต์ใช้งานกับสื่อสิ่งพิมพ์ ของที่ระลึก และผลิตภัณฑ์ต่างๆ

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการประกวด
1.      ผู้ส่งผลงานเข้าประกวด ได้แก่ นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ไม่จำกัดอายุ        ผู้ส่งผลงานหนึ่งคน สามารถส่งผลงานเข้าประกวดได้คนละไม่เกิน 2  ชิ้นงาน
2.      ผลงานที่ส่งเข้าประกวดจะต้องเป็นผลงานที่ออกแบบขึ้นใหม่ ไม่เคยนำเข้าร่วมประกวดหรือได้รับรางวัลจากที่ใดมาก่อน
3.      ผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องมีคำอธิบายผลงานหรือเอกสารการประกอบคำอธิบายแนวคิด ความหมายของแบบ สี แรงบันดาลใจในการออกแบบ
4.      กรณีออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์กราฟฟิก ให้ส่งผลงานภาพสีและขาวดำ ขนาด  A3  ติดลงบนกระดาษแข็งหรือแผ่นฟิวเจอร์บอร์ด  พร้อม CD  บรรจุไฟล์ผลงานการออกแบบความละเอียด 300 dpi ขึ้นไป ในรูปแบบนามสกุล .jpg , .ai หรือ .psd  พร้อมระบุ code  สีโหมด CMYK
เอกสารให้ระบุชื่อ นามสกุล อีเมล์ และหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ออกแบบ อยู่ด้านหลังผลงาน
5.      กรณีออกแบบด้วยฝีมือ ให้ส่งผลงานภาพสีและขาวดำอยู่ในพื้นกระดาษ ขนาด  A3  พร้อมใส่กรอบกระดาษโปสเตอร์สีให้สวยงาม
6.      ผลงานการออกแบบสามารถนำไปใช้งานได้เป็นอย่างดีกับ  สื่อสิ่งพิมพ์ และผลิตภัณฑ์ต่างๆ  เช่น สมุดบันทึก ปกหนังสือ นามบัตร โปสเตอร์ เป็นต้น
7.      ผลงานทุกชิ้นที่ส่งเข้าประกวด จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของเทศบาลตำบลแม่กา และคณะกรรมการตัดสินสามารถใช้สิทธิ์ในการปรับผลงานเพื่อประโยชน์ในการใช้งานจริงต่อไป
8.      ผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องเป็นผลงานที่ผู้ส่งเข้าประกวดออกแบบเอง ห้ามมิให้นำผลงานของผู้อื่น ไม่ว่าส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมด ส่งเข้าประกวด  หากมีการละเมิดลิขสิทธิ์  ผู้ส่งผลงาน จะต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย ข้อขัดแย้งใด ๆ ที่เกิดขึ้นให้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ออกแบบ
9.      ผลงานที่ได้รับรางวัล หากภายหลังพบว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์ คณะกรรมการตัดสินฯ จะตัดสิทธิ์การได้รับรางวัลของผลงานชิ้นนั้น ๆ โดยที่เจ้าของผลงานไม่สามารถฟ้องร้องได้ในทุกกรณี
10.  ผลการพิจารณา และการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สุด ไม่สามารถนำไปฟ้องร้องและดำเนินคดีใด ๆ ได้
หลักเกณฑ์ในการตัดสิน
1.  การสื่อความหมายของผลงาน                                             40      คะแนน
    (สามารถสื่อถึงเตาเผาเวียงบัว เพื่อการประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักได้)
2.  ความคิดสร้างสรรค์ของผลงาน                                            30      คะแนน
    (ใช้ลายสัญลักษณ์ต่าง ๆ ของเวียงบัวที่เป็นแบบดั้งเดิม
    มีการจัดวางใหม่ ให้สวยงามร่วมสมัย, ใช้สีที่เหมาะสม
    ชัดเจน, รูปแบบโดดเด่น สวยงาม จดจำง่าย)
3.  ความน่าสนใจและสามารถนำไปใช้ได้จริงในการประชาสัมพันธ์         30      คะแนน
และประยุกต์ใช้กับสื่อสิ่งพิมพ์ ของที่ระลึก สกรีนผ้า และผลิตภัณฑ์ต่างๆ
(ตราสัญลักษณ์ สามารถย่อขนาดให้เล็กลงได้ แต่ยังเห็นลวดลายที่ชัดเจน)

รางวัลการประกวด
1.      รางวัลชนะเลิศ 1 รางวัล เงินรางวัล  10,000 บาท พร้อมโล่รางวัลและเกียรติบัตร
2.      รางวัลชมเชย  3  รางวัล เงินรางวัล ๆ ละ 3,000 บาท พร้อมโล่รางวัลและเกียรติบัตร

กำหนดการรับสมัคร
เปิดรับสมัคร ตั้งแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558  ถึง วันที่ 8 มกราคม พ.ศ.2559

ระยะเวลาในการส่งผลงาน
ตั้งแต่วันรับสมัครจนถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559 หากส่งผลงานทางไปรษณีย์ให้ถือวันที่ประทับตราไปรษณีย์เป็นสำคัญ
วิธีการส่งผลงาน
ส่งด้วยตนเอง หรือทางไปรษณีย์ลงทะเบียน โดยวงเล็บที่มุมซองว่า ประกวดออกแบบตราสัญลักษณ์ (Logo) "เตาเผาโบราณเวียงบัว"   ได้ที่ ฝ่ายอำนวยการ สำนักปลัดเทศบาล  เทศบาลตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา  56000
ประกาศผลการตัดสิน
ประกาศผลการตัดสินในวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2559  ทางเวปไซต์ของเทศบาลตำบลแม่กา http://www.maekalocal.com  และป้ายประชาสัมพันธ์  ฝ่ายอำนวยการ เทศบาลตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา  หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 054-466605-7  ต่อ 34 
ประกาศ  ณ  วันที่  ๓  พฤศจิกายน พ.ศ. 2558



 นายประพันธ์  เทียนวิหาร
นายกเทศมนตรีตำบลแม่กา







กำหนดการ- โครงการประกวดโลโก้


วันที่  3 – 9 พฤศจิกายน 58                      จัดเตรียม  Poster, Brochure และ ใบสมัคร
                                                          เพื่อเตรียมประชาสัมพันธ์

วันที่  9 พฤศจิกายน 8 มกราคม 58            ประชาสัมพันธ์ พร้อมเปิดรับสมัคร

วันที่   15 กุมภาพันธ์ 59                           วันสุดท้ายของการส่งผลงาน

วันที่  22 – 26  กุมภาพันธ์  59                   นัดประชุมเพื่อตัดสินผลงาน(กรรมการตัดสิน ฯ)  
                 
วันที่  1 มีนาคม 59                                  ประกาศผล

วันที่  2 เมษายน 59                                 ทำพิธีมอบรางวัล  (งานอนุรักษ์ มรดกไทย)


แหล่งเรียนรู้เวียงบัว



ตั้งอยู่่ที่บ้านบัว หมู่ที่ 7 ตําบลแม่กา อําเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา อยู่ห่างจากกว๊านพะเยาไปทางทิศใต้ ประมาณ 20 กิโลเมตร และอยู่ตรงข้ามกับมหาวิทยาลัยพะเยา 


บริเวณที่พบเตาเผาและ เศษเครื่องถ้วยชามอยู่ ตามที่ลาดเนินในพื้นที่เมืองโบราณ “เวียงบัว” 
และตามริมลําน้ำห้วยแม่ต๋ำ ในหมู่บ้าน เวียงบัว ตามไร่นา ในสวนของชาวบ้าน ก็พบเนินดินที่ตั้งเตาเผาอยู่ทั่วไป เป็นแหล่งโบราณคดีและแหล่งเรียนรู้ของจังหวัดพะเยา เครื่องถ้วยชามที่พบจากเตาเผาเวียงบัวเป็นเอกลัษณ์เฉพาะตัวมีประวัติศาสตร์ยาวนาน พอๆกับการสร้างเมืองเชียงใหม่

ประวัติศาสตร์ด้านโบราณคดีซุกซ่อนอยู่ กระทั่งล่าสุดได้มีการค้นพบ "แหล่งเตาเผาโบราณบ้านเวียงบัว" สันนิษฐานว่าน่าจะมีอายุอยู่ในช่วงสมัยพุทธศตวรรษที่ 17-18 ซึ่งเมื่อเทียบยุคสมัยอยู่ในยุคเดียวกับสมัยพญาเจื๋อง ขุนเจื๋อง ท้าวฮุ่ง กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ต้นราชวงศ์มังรายแห่งล้านนา


เดือนมีนาคม 2548 ได้มีการสำรวจขุดค้นเตาเวียงบัว 2 แห่ง ซึ่งพบเศษเครื่องถ้วยชามและร่องรอยโครงสร้างของเตา ผ.ศ.สายันต์ ไพรชาญจิตร์ นักโบราณคดี ในฐานะผู้อำนวยการขุดค้น กล่าวถึงลักษณะของเตาเวียงบัวว่า เตาที่พบและได้สำรวจขุดค้นไปแล้วนั้นมีอยู่ด้วยกัน 2 เตา ซึ่งพบอยู่ในบริเวณเนินดินใกล้กัน โดยพบว่าเป็นเตาแบบล้านนาชนิดเตาห้องเดี่ยว อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์โดยฝังอยู่ในเนินดิน ขนาดยาว 5 เมตรกว้าง 2 เมตร นอกจากนั้นยังพบอีกว่ามีการนำดินลักษณะคล้ายปูนสีขาวเนื้อละเอียด มีส่วนประกอบเป็นเม็ดดินแข็ง ๆ คล้ายแมงกานีส มาถมบริเวณหลังคาและรอบ ๆ ปล่อยเตา ซึ่งนับว่าเป็นหลักฐานโครงสร้างของเตาที่ไม่เคยพบเห็นจากที่ไหนมาก่อนที่แผ่อิทธิพลอยู่ในอาณาจักรเงินยาง (พะเยา – เชียงราย)